วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 7 การเคลื่อนที่เเบบหมุน

1. การหมุน ความเร็วและความเร่งเชิงมุม
การเคลื่อนที่แบบวงกลมของวัตถุที่ประกอบด้วยหลายอนุภาค หรืออาจเรียกง่าย ๆ ว่า การหมุนของวัตถุ เช่น การหมุนของลูกข่าง การหมุนของพัดลมเพดาน
เป็นต้น ในบทนี้เราจะพิจารณาเฉพาะการหมุนของวัตถุในอุดมคติ คือวัตถุที่มีรูปร่างแน่นอนสมบูรณ์ โดยไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาด
เมื่อวัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เราเรียกวัตถุในอุดมคตินี้ว่า วัตถุแข็งเกร็ง อ่านเพิ่มเติม




วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 6 โมเมนตัมและการชน

โมเมนตัม
     ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่และความเฉื่อย เรียกสมบัติของวัตถุที่เคลื่อนที่นี้ว่าโมเมนตัมโมเมนตัมคือการรักษาสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เรารู้ดีว่าการที่จะหยุดรถบรรทุกทำได้ยาก กว่าการที่เราจะหยุดจักรยานที่มีความเร็วเท่ากับรถบรรทุกนั้น เราจึงบอกว่ารถบรรทุกมีโมเมนตัมมากกว่ารถจักรยาน และในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่เร็วขึ้นมันก็จะ รักษาสภาพการเคลื่อนที่ได้ดีขึ้นมีโมเมนตัมสูงขึ้นนั่นเอง เราจึงสรุปได้ว่า

โมเมนตัมคือผลคูณของมวลและความเร็ว ได้สูตรดังนี้


การชน
     การอนุรักษณ์โมเมนตัมคือโมเมนตัมไม่เปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังการชนหรือหลังการะเบิด การอนุรักษ์โมเมนตัมเกิดขึ้นเนื่องจากแรงที่ทำให้เกิดการปรากฏการณ์เป็นแรงภายใน แรงภายในทำให้เกิดการหักล้างโมเมนตัมกันเองกลายเป็นศูนย์
โมเมนตัมก่อนชน = โมเมนตัมหลังชน ได้สูตรดังนี้


หน่วยที่ 5 งานและพลังงาน

    งาน (work) คือ  ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ งานเป็นปริมาณที่สามารถคำนวณได้จากความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้

                                          งาน  =   แรง (นิวตัน) x  ระยะทาง (เมตร)

           เมื่อ     W  คือ  งาน  มีหน่วยเป็นจูล ( J ) หรือนิวตันเมตร (N-m)
                      F   คือ  แรงที่กระทำ  มีนหน่วยเป็นนิวตัน ( N )
                      s   คือ  ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ  มีหน่วยเป็นเมตร ( m )

                      จะได้สูตรคำนวณหางาน คือ      F  =  W x s      


     พลังงาน (energy) คือ  ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุหรือสสารต่าง ๆ   พลังงานสามารถทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้  เช่น ทำให้สสารร้อนขึ้น เกิดการเคลื่อนที่  เปลี่ยนสถานะเป็นต้น

    พลังงานที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลายรูปแบบ เช่น  พลังงานกล  พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า  พลังงานแสง  พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์  เป็นต้น
    หน่วยของพลังงาน   พลังงานมีหน่วยเป็นจูล (J)

    การคำนวณพลังงานศักย์โน้มถ่วงใช้สูตรดังนี้ : Ep = mgh         

     การคำนวณพลังงานจลน์ใช้สูตรดังนี้ : Ek = 1/2mv2